9 วิธีสังเกต เพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่านะ ?
โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในอาการทางจิตเวชที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมในการใช้ชีวิต รวมไปถึงสุขภาพร่างกาย ซึ่งเป็นอาการป่วยที่ต้องได้รับการเฝ้าระวัง และดูแลกันอย่างต่อเนื่อง
อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคนี้สามารถเกิดได้จากสภาวะเครียดสะสม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้มากในวัยทำงาน โดยปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากว่า 1.5 ล้านคน หนึ่งในนั้นอาจเป็นเพื่อนร่วมงานของคุณก็เป็นได้
มาสังเกตอาการของโรคซึมเศร้าของเพื่อนร่วมงาน เพื่อเตรียมรับมือ และเข้าช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาสามารถรักษาตัวจนหายดี และกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง
โรคซึมเศร้าคืออะไร? ทำไมถึงพบได้มากในวัยทำงาน?
โรคซึมเศร้า อาการป่วยร้ายแรงที่ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ต่อจิตใจ แต่รวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมเกือบทั้งหมด โดยสาเหตุของโรคนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่
- กรรมพันธุ์: หากคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้าหรืออาการทางจิต รุ่นลูกรุ่นหลานก็จะสามารถเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่าคนปกติถึง 20% เลยทีเดียว
- การหลั่งของเคมีในสมอง: กรณีนี้เกิดจากสภาพร่างกายนั้นหลั่งสารที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephirne) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดความเครียดออกมามากผิดปกติ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าในที่สุด
- สภาพแวดล้อม: สภาพแวดล้อมนั้นนับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก หากอยู่ในที่ที่มีความกดดัน หรือความเครียดสูง ก็มีโอกาสที่จะทำให้คนๆ นั้นเกิดความเครียดสะสมจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างง่ายดาย อย่างเช่นที่ทำงาน เป็นต้น
ทีนี้เรามาดูกันว่าทำไมโรคซึมเศร้านั้นจึงสามารถพบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยสามารถสังเกตได้จากเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้งในที่ทำงาน ซึ่งสามารถทำให้เพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้าได้
- ปริมาณงานที่มากจนเกินไป รายได้ไม่สัมพันธ์กับจำนวนงานที่ได้รับ
- ปริมาณงานที่มากจนเกินไป รายได้ไม่สัมพันธ์กับจำนวนงานที่ได้รับ
- มีเวลาให้กับตัวเองน้อยลง พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ได้ไปทำอะไรที่ตัวเองชอบ
- มีแนวคิดที่แตกต่างจากบริษัท แต่ยังอดทนทำงานอยู่ที่เดิมต่อไป
- ฝืนทำงานที่มีอยู่แม้ว่าจะไม่ใช่สายงานที่ตัวเองชื่นชอบ
- ต้องทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด แต่กลับถูกต่อว่าอยู่บ่อยครั้ง และไม่ได้รับการแนะนำที่ถูกต้อง
- เข้ากับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ไม่ได้ มีการกลั่นแกล้งกันภายในองค์กร หรือจากลูกค้า
- สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี เช่น อุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม หัวหน้างาน หรือฝ่ายจัดการละเลยสิ่งต่างๆ ภายในที่ทำงานเกินกว่าที่ควร
9 วิธีสังเกตอาการเมื่อเพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้านั้นสามารถสังเกตได้จาก 9 อาการด้วยกัน หากเพื่อนร่วมงานของคุณมีพฤติกรรมแบบเดียวกับอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 4 - 5 ข้อขึ้นไป ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่าเพื่อนร่วมงานของคุณนั้นเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้
โดยอาการทั้ง 9 นั้น มีด้วยกันดังนี้
- ประสาทสัมผัสเริ่มช้า ทำสิ่งต่างๆ ได้เชื่องช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
- มีปัญหาในด้านการนอน ต้องใช้เวลานอนนานกว่าปกติ หรือนอนไม่หลับเลย อาจสังเกตได้จากอาการง่วงซึมระหว่างทำงาน หรือขอบตาที่ดำคล้ำมากขึ้น
- โทษตัวเองบ่อย รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า
- สมาธิสั้น มีอาการเหม่อลอย และตัดสินใจอะไรได้ช้าลง
- ร่างกายอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ
- อารมณ์แปรปรวนง่าย อาจมีอาการหงุดหงิด เศร้า หรือโมโหตลอดทั้งวัน
- เบื่อง่าย รู้สึกไม่เอ็นจอยกับสิ่งที่ชอบเหมือนเคย
- รู้สึกเบื่ออาหาร หรืออยากอาหารมากเป็นพิเศษ สังเกตได้จากน้ำหนักตัวที่ลดลง หรือเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ไม่อยากมีชีวิตอยู่ และคิดเรื่องความตายอยู่บ่อยครั้ง
รับมืออย่างไรเมื่อเพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้า?
หลายๆ คนคิดว่าวิธีการรับมือกับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าคือ การคอยพูดให้กำลังใจ หรือมอบมุมมองในแง่บวกให้ แล้วพวกเขาจะสามารถหายจากอาการนี้ได้เอง ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น!
วิธีการรับมือกับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุดนั้น ผู้ดูแลจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อารมณ์ที่แปรปรวนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น เกิดมาจากการทำงานที่ผิดปกติของเคมีในสมอง ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์เฉพาะทาง
สรุป เพื่อนร่วมงาน เป็นโรคซึมเศร้า
ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะเป็นการประคับประคองไม่ให้อาการของเขาแย่ลง และให้แพทย์ได้ทำหน้าที่รักษาได้อย่างเต็มที่ รับรองว่าเพื่อนร่วมงานของคุณจะต้องมีอาการที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
https://www.cigna.co.th/health-wellness/tip/depressive-disorder-article-2019
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/depression#:~:text=สาเหตุของโรคซึมเศร้า,คนใกล้ชิดรอบข้าง
https://www.pobpad.com/ภาวะซึมเศร้า-ปัญหาสุขภา
แผนประกันแนะนำ

แผนประกัน
สุขภาพมิติใหม่
ประกันสุขภาพมิติใหม่
คุ้มครองโรคกรดไหลย้อน นิ้วล็อค และเบาหวานความดัน สามารถเลือกคุ้มครองเสริมโรคร้ายตามความเสี่ยง

แผนประกันภัย
โรคร้ายแรง
"“โรคร้าย…คุ้มครองครบ”"
”คุ้มครองสูงสุด 1.8 ล้านบาท เงินชดเชยรายได้สูงสุด 1,200 บาท/วัน

แผนประกัน
อุบัติเหตุออนไลน์
"คุ้มครองคูณสาม รับกรมธรรม์ทันที"
ให้ความคุ้มครอง 3 เท่าสูงสุด 6.6 ล้านบาท พร้อมค่ารักษาสูงสุด 60,000 บาท/ครั้ง/อุบัติเหตุ