วางแผนการเงิน วางแผนชีวิต
“ถ้าเราวางแผนดีๆ ทุกฝันในชีวิตสามารถเป็นจริงได้”
Minute Pick Up
04:15 การวางแผนการเงินสำคัญต่อชีวิตอย่างไร?
07:08 บริหารการเงิน = บริหารชีวิต
08:48 ก่อนจะใช้จ่ายต้องแบ่งสันปันส่วน
10:53 ทำอย่างไรให้มีวินัยทางการเงิน?
12:30 การออมเงินเตรียมตัวก่อนวัยเกษียณ
15:30 เคล็ดลับ และการบริการจัดการการลงทุน
Highlight
- การวางแผนการเงินที่ดี ไม่ใช่หมายถึงการกัดฟันเก็บเงินก้อนโตให้ได้ภายในเวลาสั้นๆ แต่เป็นการสร้างอิสรภาพทางการเงินที่พอดีกับตัวเอง
- เพราะชีวิตเต็มไปด้วยเหตุไม่คาดฝัน และเกือบทุกเหตุการณ์นั้นมีค่าใช้จ่าย จึงต้องมีการจัดสันปันส่วนเงินออมที่มีให้เป็นระบบ เพื่ออนาคตของตัวคุณเอง
นอกจากสุขภาพของร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนมองข้าม นั่นก็คือ สุขภาพทางการเงิน
แม้ว่า เงิน จะไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจัยในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่ก็คือเงิน จากผลการสำรวจของ Cigna 360 Well-being Survey พบว่าการเงินเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่มีผลต่อความเครียดของคนไทย เพราะฉะนั้น การวางแผนการเงิน จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณ
มาเรียนรู้เทคนิคเพื่อฟื้นคืนสุขภาพทางการเงินของคุณ ด้วยเคล็ดลับจากประสบการณ์ของ “คุณหมอนัท” ธนัฐ ศิริวรางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุน เจ้าของ Facebook Page คลินิกกองทุน ใน Jigsaw for Good Life EP.30 “วางแผนการเงิน วางแผนชีวิต”
นิยามของการวางแผนการเงินที่ดี
หากมีใครถามว่า การวางแผนการเงินที่ดีที่สุดนั้นต้องเป็นอย่างไรกันแน่? คงต้องบอกว่า ไม่มีการวางแผนใดที่ดีที่สุด! เพราะแต่ละคนนั้นมีภาระ มีรายรับรายจ่ายที่ไม่เท่ากัน จึงต้องมีวิธีวางแผนที่แตกต่างกันออกไป
โดยการวางแผนการเงินสำหรับคุณหมอนัทนั้น มีเพียง 3 ขั้นตอนง่ายๆ นั่นก็คือ
มีรายได้ > ใช้จ่าย > เหลือเก็บ
คุณไม่จำเป็นต้องเก็บเงินเดือนละมากๆ จนเกินตัว เพียงแต่ยึดตามหลักการง่ายๆ นั่นก็คือ มีอิสรภาพทางการเงินที่พอดีกับตัวเอง หมายถึง อยากกินอะไรก็ได้กิน มีอะไรที่อยากจะใช้ก็ได้ใช้ เพียงแต่ในจำนวนนั้นคุณจะต้องมีเงินเหลือเพียงพอที่จะนำมาเก็บออมเอาไว้
แบ่งสันปันส่วนเงินออมออกเป็น 3 ส่วน
การออมเงินนั้น นอกจากทำให้สุขภาพทางการเงินดีขึ้นในระยะยาวแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ อีกด้วย เช่น ค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ
โดยวิธีการที่คุณหมอนัทแนะนำนั้น คือ เมื่อได้รับเงินเดือนมาแล้วให้เก็บออมทันทีเป็นจำนวนอย่างน้อย 10% ของรายได้ และให้ทำการแบ่งสันปันส่วนเงินออมออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 เงินออมเพื่อใช้จ่ายจิปาถะ
ส่วนที่ 2 เงินออมสำหรับประกันสุขภาพ และประกันชีวิตต่างๆ
ส่วนที่ 3 เงินออมสำหรับการลงทุน
ในส่วนที่ 1 จะเป็นเงินออมเพื่อใช้สำหรับการจับจ่ายใช้สอยจิปาถะทั่วไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยสัดส่วนของเงินออมเพื่อการใช้จ่ายจิปาถะนั้น ควรจะสำรองไว้เป็น 3-6 เท่าของรายรับ เช่น หากคุณได้เงินเดือนเดือนละ 20,000 บาท เงินออมที่มีควรจะอยู่ที่ 60,000 - 120,000 บาท
เหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยนั้น เป็นสิ่งที่สร้างค่าใช้จ่ายให้กับคุณได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในบางครั้ง มันอาจจะทำให้คุณเสียเงินเก็บทั้งหมดที่คุณมีอยู่
เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะช่วยรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันเหล่านี้ได้ ก็คือประกันสุขภาพ และประกันชีวิต ซึ่งจะช่วยคุ้มครองในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษา และค่าเสียโอกาสต่างๆ นั่นเอง
เงินออมในส่วนนี้เรียกได้ว่าสำคัญมาก เพราะเป็นการวางแผนการเงินสำหรับอนาคต เพื่อนำไปต่อยอดให้เงินที่มีอยู่นั้นงอกเงยด้วยตัวของมันเอง เช่น กองทุนรวม หรือตราสารหนี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารเฉยๆ
นอกจากนี้ ยังเป็นเงินทุนสำรองเพื่อเอาไว้ดำรงชีวิตหลังวัยเกษียณ ซึ่งเป็นวัยที่เราขาดรายได้นั่นเอง
นิยามของการวางแผนการเงินที่ดี
ในเพื่อการวางแผนการเงินที่ดีนั้น สิ่งที่คุณจะขาดไปไม่ได้เลยก็คือ วินัย ซึ่งวินัยที่ควรมีเพื่อให้สุขภาพการเงินของคุณดีขึ้นนั้น มีด้วยกันดังนี้
- วินัยในการเก็บออมเงิน ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง และสามารถเก็บเงินได้ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้
- วินัยในการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่สุรุ่ยสุร่ายจนเกินตัว
- วินัยในการศึกษาหาความรู้ก่อนลงทุน เพราะทุกการลงุทนมีความเสี่ยง จึงต้องคอยศึกษาอยู่ตลอดเวลา
แม้ว่าการวางแผนทางการเงินที่กล่าวมานั้น จะดูเป็นเรื่องที่เรียบง่าย และทำได้ไม่ยาก แต่พอถึงเวลาที่ต้องลงมือทำจริงๆ ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ล้มเลิกไปกลางคันเพราะขาดวินัย
อย่าลืมคำนึงถึงอนาคตของคุณอยู่เสมอ เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเวลา หากไม่มีแผนสำรองรับมือ คุณอาจจะต้องเสียใจภายหลังก็เป็นได้