
“ฉันไม่มีความสุขเอาซะเลย”
ถ้านี่คือความรู้สึกที่คุณมีอยู่ในขณะนี้ เราอยากให้คุณลองทำความรู้จักกับ ‘ดนตรีบำบัด (Music Therapy)’ อีกหนึ่งศาสตร์ทางการแพทย์ที่จะช่วยขจัดความทุกข์-เพิ่มพูนความสุขให้กับร่างกายและจิตใจได้แบบอยู่หมัดผ่านการใช้เสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองและเนื้อหาที่ส่งผลดีต่อการรักษาโรค
แต่ศาตร์ทางด้านดนตรีนี้จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนหมอได้อย่างไร คุณอาจจะต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกันสักหน่อยผ่านบทความฉบับนี้ เพราะนี่คือเรื่องราวของเสียงดนตรีที่มีอิทธิพลกับจิตใจ ซึ่งส่งผลให้บำบัดโรคร้ายได้อย่างน่าอัศจรรย์!
เข้าใจ “ทฤษฎีดนตรีบำบัด” ศาตร์แห่งแพทย์ทางเลือก
เพราะความสัมพันธ์ของคนเรากับตัวโน้ตมีมานานแสนนาน
หลายครั้งที่เสียงเพลงกลายเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตประจำวันเหมือนกับการแต่งตัวหรือกินข้าว ดูได้จากการก้าวออกจากบ้านในแต่ละครั้ง เรามักไม่ลืมที่จะหยิบหูฟังคู่ใจออกมาเพื่อเปิดฟัง Playlist เพลงค้างเอาไว้ ไม่อย่างนั้นคงจะรู้สึกว้าวุ่นใจเหมือนชีวิตนี้ขาดอะไรไปสักอย่างในระหว่างเดินทาง...
เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อจิตใจของคนเราไม่มากก็น้อย ทำให้ดนตรีถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดที่เราเรียกกันว่า ทฤษฎีดนตรีบำบัด หรือ Music Therapy ซึ่งถือเป็นทฤษฎีทางการแพทย์ที่หลอมรวมเอาเรื่องของศาสตร์ด้านจิตวิทยาและศิลป์ทางด้านดนตรีเข้าไว้ด้วยกัน
และนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการรักษา พัฒนา รวมถึงการบำบัดในด้านสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ และสังคมสำหรับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะ
ข้อดีของการใช้ดนตรีบำบัดคืออะไร

เสียงดนตรีไม่ได้ทำหน้าที่แค่ให้ความบันเทิงเท่านั้น แต่ในฐานะของการเป็นเครื่องมือบำบัด ดนตรียังทำหน้าที่เป็นเสมือนหมอผู้ช่วยที่ทำงานควบคู่กันกับยาต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย ทั้งในโรคทางจิตใจ อย่างเช่น โรคเครียด, โรคซึมเศร้า ฯลฯ ซึ่งจากการวิจัยทางการแพทย์ของ Buckwalter et.al 1985 ระบุไว้
ว่า การรักษาโรคทางจิตใจด้วยการใช้ดนตรีบำบัดจะช่วยทำให้ลดความกังวล ความกลัว เพิ่มการเคลื่อนไหว และสร้างแรงจูงใจขึ้นมาได้มากยิ่งขึ้น
รวมถึงยังช่วยบำบัดโรคร้ายแรงด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อช่วยลดการกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเจ็บปวดที่เกิดจากการรักษาได้ ซึ่งในปัจจุบันเห็นได้จากการนำมารักษาควบคู่กับการให้ยาในโรคมะเร็งที่ช่วยลดความกังวลให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ดนตรีบำบัดยังใช้ได้ผลดีกับกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ เพราะเคยมีการวิจัยที่ระบุไว้ว่า หากผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ลองฟังเพลงที่คุ้นเคย สมองในหลายส่วนได้กลับทำงานขึ้นอย่างตื่นตัวอีกครั้ง ดังนั้น การจัด Playlist เพลงของตัวเองไว้ตั้งแต่วันนี้ อาจจะส่งผลดีตอนที่เราเริ่มเกิดอาการหลงลืมในอนาคตก็เป็นได้
เสียงดนตรีมีส่วนช่วยบำบัดโรคได้อย่างไร
อย่างที่บอกไปแล้วว่า เสียงดนตรีมีส่วนช่วยในการบำบัดโรคต่างๆ ได้ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ซึ่งสิ่งที่ทำให้ดนตรีมีประโยชน์ทางการบำบัดได้ถึงขนาดนั้น ก็เป็นเพราะองค์ประกอบต่างๆ ของดนตรีมีผลในด้านจิตวิทยาและการทำงานของสมองโดยตรงนั่นเอง
เรียนรู้องค์ประกอบของดนตรีที่มีผลต่อการบำบัดโรค
1. จังหวะของดนตรี (Rhythm)
หากเล่นในจังหวะ70-80 ครั้ง/นาที (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา
2. ระดับของเสียง (Pitch)
หากเล่นในจังหวะ70-80 ครั้ง/นาที (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา
3. ความดังของเสียง (Volume/ Intensity)
จากงานวิจัยพบว่า เสียงที่เบานุ่มจะทำให้เกิดความสงบสุขและสบายใจ ในขณะที่เสียงดังทำให้เกิดการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อได้
4. การประสานเสียง (Harmony)
เพราะเป็นการร้องร่วมร้องเพลงด้วยกันหลายคน ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการควบคุมตัวเองมักมีปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่างๆ จากบทเพลง ซึ่งช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกและทำการประเมินการรักษาได้ง่ายขึ้น
5. ทำนองเพลง (Melody)
ทำนองของเพลงคือส่วนที่ทำให้บทเพลงนั้นเข้าถึงอารมณ์คนฟังได้ดีที่สุด การเปิดทำนองเพลงที่ผู้ป่วยชื่นชอบจึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ จนสุดท้ายช่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตลอดการรักษาได้เป็นอย่างดี
ดนตรีบำบัดโรคทางกายได้จริงหรือไม่

ในความเป็นจริงแล้ว ดนตรีอาจไม่ได้เป็นตัวการที่ทำให้โรคร้ายแรงหายไปได้ แต่เสียงดนตรีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นได้จากการรักษาทางใจโดยอ้อม เพราะประสบการณ์ทางเสียงเหล่านี้ เมื่อผู้ป่วยได้สัมผัสก็เหมือนจะได้รับพลังและได้รับแรงกระตุ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป หากทำการบำบัดซ้ำๆ อย่างเข้าใจ ดนตรีจะกลายเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ให้ความสุขและกำลังใจกับผู้ป่วยได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว!
สรุป
แม้ดนตรีบำบัดจะเป็นศาตร์ที่ช่วยในการรักษาทางการแพทย์ แต่สำหรับคนยุคใหม่ที่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเครียด และปัญหาทางด้านอารมณ์ได้โดยง่าย ก็อาจจะเลือกหยิบเอาเคล็ดลับและวิธีการจากดนตรีที่จะช่วยบำบัดให้ความกังวลใจเหล่านี้หายไป
เพียงแค่เปิด Playlist เพลงโปรดพร้อมฟังผ่านหูฟังคู่ใจ แค่นี้คุณก็มีที่ปรึกษาทางใจที่เรียกว่า ‘เสียงเพลง’ ได้ในทุกๆ วัน
แผนประกันแนะนำ

แผนประกัน
การเดินทาง
"ซิกน่าประกันการเดินทางต่างประเทศ"
วางแผนเดินทางเลือกซิกน่าไปเป็นเพื่อน เดินทางใกล้หรือไกลอุ่นใจได้

แผนประกัน
อุบัติเหตุ
"คุ้มครองทันใจ"
เจอเรื่องหนักแค่ไหน ซิกน่าก็ช่วยให้เบาลงได้

แผนประกันภัย
พิเศษสุดสุด
"ซื้อ 1 ดูแล 2"
แผนเดียวสำหรับคุณและคนพิเศษ