ใจใหญ่แค่ไหนก็ไม่ช่วย หากเกิด ‘โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน’
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน แค่ได้ยินชื่อก็รู้สึกว่าน่ากลัวแล้วใช่ไหม แต่ที่น่ากลัวกว่าก็คือข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ที่ระบุว่า นี่คือโรคที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น 20 เท่า โดย 30% ของผู้ป่วยมักไม่ปรากฏอาการ มารู้ตัวอีกทีก็เมื่อถึงขั้นรุนแรงแล้ว
ในเมื่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันน่ากลัวขนาดนี้ เราจึงอยากให้ทุกคนรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังหลอดเลือดจนหนาตัวขึ้นและตีบแคบลง ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีโอกาสเกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า โดยเฉพาะผู้ชายอายุ 40 ปี ขึ้นไป ในขณะที่ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วมีโอกาสเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจใกล้เคียงกับผู้ชาย แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ด้วย แม้อายุยังน้อยก็สามารถเป็นโรคนี้ได้
นอกจากนี้ พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องหลายข้อก็สามารถนำมาซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้เช่นกัน หรือที่เรียกว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น น้ำหนักเกินและอ้วน ความเครียดเรื้อรัง ไม่ออกกำลังกาย กินผักและผลไม้ในแต่ละวันน้อยเกินไป การสูบบุหรี่ ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันสามารถพบโรคนี้ได้ในช่วงอายุที่น้อยลง อาจเป็นเพราะต้องเผชิญกับภาวะความเครียดสูงจากปัญหาเศรษฐกิจ การแข่งขัน ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป เหล่านี้เป็นตัวเร่งให้หลอดเลือดแดงเกิดความเสื่อมเร็วขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่เรามักเจอฟีดข่าวเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือบางคนเกิด Heart Attack ทำให้เสียชีวิตระหว่างขับรถ ซึ่งล้วนสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันทั้งสิ้น
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
เนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจากการตีบและแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งในระยะแรกอาจไม่พบอาการผิดปกติ กระทั่งเส้นเลือดตีบมากขึ้นจึงเริ่มปรากฏอาการ ดังนี้
เจ็บเค้นอกเหมือนมีอะไรมาทับหรือรัดบริเวณกลางหน้าอกหรือใต้กระดูกกลางหน้าอก อาจมีร้าวไปบริเวณคอ กราม ไหล่และแขนทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะข้างซ้าย
เหนื่อยง่ายขณะออกแรงหรือออกกำลังกาย
มีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะ เป็นลม ร่วมกับอาการแน่นหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมีความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
หากลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณเส้นเลือดที่ตีบจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน อาการเจ็บหน้าอกจะรุนแรงขึ้นถึงขั้นหัวใจวาย ช็อก หรือหยุดเต้น ทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้
การรักษาและการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เบื้องต้นแพทย์อาจให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย กำจัดความเครียด หรือทำการรักษาด้วยยาตามอาการ รวมถึงการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ชนิดพิเศษและการผ่าตัด
ทั้งนี้ เราสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น ลดการบริโภคน้ำตาล เลือกกินผัก ผลไม้สดที่ไม่หวานจัด ใช้น้ำตาลเทียมหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Non-nutritive sweeteners) ควบคุมปริมาณอาหารจำพวกแป้งหรืออาหารที่มีไขมันสูง ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยง และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ส่วนหนึ่ง แต่หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือควบคุมได้ เช่น คนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคนี้และกำลังกังวลอยู่ก็ควรมีประกันสุขภาพไว้ดูแลเมื่อถึงคราวจำเป็น เช่น ประกันโรคร้ายแรง จาก Cigna ที่เบี้ยเริ่มต้นเพียงเดือนละ 250 บาท แต่คุ้มครองโรคร้ายแรงสูงสุดถึง 2 ล้านบาท
แผนประกันแนะนำ

แผนประกัน
สุขภาพมิติใหม่
ประกันสุขภาพมิติใหม่
คุ้มครองโรคกรดไหลย้อน นิ้วล็อค และเบาหวานความดัน สามารถเลือกคุ้มครองเสริมโรคร้ายตามความเสี่ยง

แผนประกันภัย
โรคร้ายแรง
"“โรคร้าย…คุ้มครองครบ”"
”คุ้มครองสูงสุด 1.8 ล้านบาท เงินชดเชยรายได้สูงสุด 1,200 บาท/วัน

แผนประกัน
อุบัติเหตุออนไลน์
"คุ้มครองคูณสาม รับกรมธรรม์ทันที"
ให้ความคุ้มครอง 3 เท่าสูงสุด 6.6 ล้านบาท พร้อมค่ารักษาสูงสุด 60,000 บาท/ครั้ง/อุบัติเหตุ