ความดันโลหิตสูง เกิดจากอะไร? โรคฮิตที่ทุกวัยควรระวัง
ความดันสูงหรือโรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่มักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน ประกอบกับพฤติกรรมเสี่ยงที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ทำให้ใครหลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังมีภาวะความดันโลหิตสูง ดังนั้นในบทความนี้จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงความดันสูงหรือโรคความดันโลหิตสูงมากฝาก เพื่อให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
ความดันสูง หรือ โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร
ความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือสภาวะความเปลี่ยนแปลงของความดันในหลอดเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ ผลกระทบของความดันโลหิตสูงก่อให้เกิดความเสียหายกับหลอดเลือดแดง รวมถึงอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งหากมีความดันโลหิตสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะนำไปสู่ภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด หลอดเลือดอุดต้นและเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน อาทิ โรคหัวใจวาย โรคอัมพาตและโรคสมองเสื่อม เป็นต้น
ความดันสูง ต้อง มีค่าความดันโลหิต เท่าไร
ค่าความดันแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว, ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว โดยหน่วยวัดของค่าความดันโลหิต คือ มิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) ซึ่งระดับค่าความดันโลหิตจะแตกต่างกันดังนี้
ค่าความดันสูงขณะหัวใจบีบตัว (ความดันช่วงบน)
ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว คือ ความดันโลหิตขณะที่หัวใจกำลังบีบตัวไล่เลือดออกจากหัวใจ โดยค่าความดันโลหิตที่สูงของหัวใจขณะบีบตัว แบ่งได้ดังนี้
- 140-159 mm/Hg (สูงเล็กน้อย)
- 160-179 mm/Hg (สูงปานปลาง)
ค่าความดันสูงขณะที่หัวใจคลายตัว (ความดันช่วงล่าง)
ความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว คือ ความดันโลหิตขณะที่หัวใจยังมีเลือดค้างอยู่ภายในหลอดเลือด โดยค่าความดันโลหิตที่สูงของหัวใจขณะคลายตัว แบ่งได้ดังนี้
- 90-99 mm/Hg (สูงเล็กน้อย)
- 100-109 mm/Hg (สูงปานปลาง)
ภาพ: เปรียบเทียบความดันโลหิตธรรมดากับความดันโลหิตสูง (Hypertension)
ปัจจัยของความดันสูง หรือ โรคความดันโลหิตสูง
- ความดันสูง ชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีสาเหตุมาจาก กรรมพันธุ์ เพศและอายุ โดยคนที่สมาชิกในครอบครัวมีอาการความโลหิตสูง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไป สำหรับเพศและอายุ ในช่วงอายุก่อน 50 ปี เพศชายมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าเพศหญิง แต่หลังจากอายุ 50 ปีขึ้นไปเพศหญิงจะมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า
- ความดันสูง ชนิดที่สามารถควบคุมได้ มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ การทานอาหารเค็ม, การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมความเสี่ยงได้เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็สามารถลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคได้
ความดันโลหิตสูง อาการ
ความดันสูงเป็นภาวะที่แสดงอาการไม่แน่ชัดเจน ดังนั้นคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมักไม่ทราบว่าตัวเองกำลังประสบปัญหาดังกล่าว สำหรับจุดสังเกตอาการความดันสูงมีดังนี้
ปวดศีรษะ
มึนงงศีรษะ
คลื่นไส้ อาเจียน
เหนื่อยง่าย
หน้ามืดเป็นลม
นอนไม่หลับ
ตาพร่ามัว
โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากอะไร?
1.ทานอาหารรสเค็มจัด
การรับประทานอาหารรสเค็มจัดส่งผลให้ร่างกายได้รับเกลือในปริมาณมาก ร่างกายจะดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น ดังนั้นหากร่างกายดูดน้ำเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณที่มากส่งผลให้มีความเสี่ยงความดันสูงได้ ทั้งนี้นอกจากอาหารรสเค็มแล้ว อาหารที่มีไขมันสูงเป็นอีกหนึ่งประเภทที่มีความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงเช่นเดียวกัน
2.น้ำหนักเกิน
คนที่มีน้ำหนักเกินค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หรือมีน้ำหนักมาก มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะเส้นเลือดตีบจากไขมันที่เกาะผนังเลือด ซึ่งหัวใจต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้นเพื่อหลอดเลือดร่างกาย จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมา
3.ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเป็นการกระตุ้นหัวใจให้ฉูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนได้เร็วและแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความดันสูงในหลอดเลือด จนนำไปสู่ความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในที่สุด
4.ความเครียด
เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอทิซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Ardrenaline) ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วและสูบฉีดเลือดมากขึ้น ผนังหลอดเลือดหดเกร็ง ส่งผลให้เกิดภาวะความดันสูงขณะเครียด
5.สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต และความผิดปกติของไขมันในเลือด เกิดการอักเสบและตีบตันของหลอดเลือด รวมถึงทำลายผนังหลอดเลือด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุที่นำมาสู่โรคความดันโลหิตสูง
วิธี ลดความดันสูง เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า
1.ปรับพฤติกรรมการทาน
พฤติกรรมการทานอาหาร เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นการแก้ปัญหาควรแก้ที่ต้นตอ ด้วยการปรับพฤติกรรมการทาน ลดทานอาหารรสเค็มจัด ดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง งดทานของทอดของมัน หันมาทานอาหารเพื่อสุขภาพ เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้แล้ว
2.ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยลดไขมันที่เกาะตามผนังเลือด นอกจากนี้ขณะออกกำลังกายร่างกายยังหลั่งสารเอ็นโดรฟีนส์ (Endorphine) กับสารโดพามีน (Dopamine) หรือสารแห่งความสุข ช่วยคลายความเครียด ซึ่งหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิต
3.เลิกสูบบุหรี่
จากข้อมูลข้างต้นทำให้ทราบว่าบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นการเลิกสูบบุหรี่จึงเป็นวิธีช่วยลดความเสี่ยงได้ นอกจากนี้การเลิกสูบบุหรี่ยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายแรงอย่างอื่นอีกด้วย อาทิ โรคมะเร็ง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคถุงลมโป่งพองและโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
สรุป โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ตั้งแต่การทานอาหารจนถึงความเครียด แต่ทั้งนี้ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ โดยต้องปรับพฤติกรรมลดปัจจัยเสี่ยง เพียงเท่านี้โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงก็ลดน้อยลงด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- Phyathai
- Nonthavej
- Sikarin
- CDC
แผนประกันแนะนำ

แผนประกัน
สุขภาพมิติใหม่
ประกันสุขภาพมิติใหม่
คุ้มครองโรคกรดไหลย้อน นิ้วล็อค และเบาหวานความดัน สามารถเลือกคุ้มครองเสริมโรคร้ายตามความเสี่ยง

แผนประกันภัย
โรคร้ายแรง
"“โรคร้าย…คุ้มครองครบ”"
”คุ้มครองสูงสุด 1.8 ล้านบาท เงินชดเชยรายได้สูงสุด 1,200 บาท/วัน

แผนประกัน
อุบัติเหตุออนไลน์
"คุ้มครองคูณสาม รับกรมธรรม์ทันที"
ให้ความคุ้มครอง 3 เท่าสูงสุด 6.6 ล้านบาท พร้อมค่ารักษาสูงสุด 60,000 บาท/ครั้ง/อุบัติเหตุ